เที่ยวอินเดีย เชนไน ตอนที่ 3.1

ความเดิมตอนที่แล้ว

เมื่อตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า “ไปตายเอาดาบหน้า” เอิ่ม … นี่เรียกว่า ตัดสินใจแล้วใช่ไหม  ….ขอพูดเลยว่า เป็นอย่างนี้ทั้งทริป 555

ตื่นเช้ามา พลังชีวิตเพิ่ม อาบน้ำแต่งตัวเสร็จ เริ่มแหวกม่านชมวิวเมืองกัญจีปุรัม ตื่นกันยังจ้ะ คนอินเดีย  …. ปรากฏว่าสิ่งมีชีวิตแรกที่เห็น คือ น้อง “ลิง”

IMG_1852 IMG_1859

เอ้ย…มาจากไหนเนี่ย อ้อ ตอนเข้ามาที่ห้องเมื่อวาน เห็นกระดาษใบหนึ่งที่หน้าโต๊ะเครื่องแป้ง บอกว่า อย่าเปิดหน้าต่างทิ้งไว้นะจ้ะ ระวังลิงเข้ามาขโมยของ อ่านผ่านๆ ไม่คิดว่า น้องลิงจะมีจริง นี่มันกลางเมืองนะ แหมๆ เกือบถูกฝูงลิงรับน้องซะแล้วสิ

IMG_1865
อธิบายไปว่าตักผัก แต่ดูจากหลักฐาน แป้งจัดเต็ม ชอบสุดจะเป็นมันฝรั่งบดอบเนยใส่เครื่องเทศนิดๆ ทานคู่กับเครื่องแกงต่างๆ มีเผ็ดบ้าง หวานบ้าง เติมถั่วเล็กน้อย แหม มันเข้ากัน

ลงไปห้องอาหาร อาหารเช้า อินเดียล้วน ยังดีหน่อยที่มีสลัดผักและผลไม้ให้ทานบ้างเล็กน้อย กลิ่นตัวเวลาเข้าห้องน้ำ เริ่มใกล้เคียงกับคนอินเดีย กลิ่นเครื่องเทศมาเต็ม ความคุ้นเคยทำให้เติมไปสองรอบ  จนพนักงานคนหนึ่ง เห็นเรา Enjoy Eating มาก เดินมาถามว่า Are you Chinese? เราบอกว่าไม่ใช่ ไม่ยอมแพ้ Are you Korean?

เฉลยไปเลยแล้วกัน Thailand จ้า ทำไมเหรอ หน้าตาเราไม่เหมือนคนไทยเหรอ  พนักงานบอกว่า “โอ้ย … ถ้าเป็นคนไทย ไม่กินอาหารอินเดียหรอก เค้าจะแพ็คอาหารจากไทยมากิน และให้เราอุ่นทานมากกว่า” เอิ่ม…จริงเหรอ? คือฉันแปลกใช่ไหมล่ะ ….แต่อาหารอินเดียของคุณอร่อยจริงๆ นะ   ฉันEnjoy Eating มาก หลักฐานชัด กินเกลี้ยงจาน พูดจบ เอาชาร้อนมาเสริฟให้อีก   อืม…อร่อยอ่ะ ของฟรีมีในโลก จริงๆ นะ

ท้องอิ่ม Check Out เจอราคาโรงแรม ดูรายละเอียดแล้วหงายเงิบ นอกจาก Luxuary Tax แล้ว ยังโดน E-Comm Tax มันคือไรว้า และ xx Tax อีก  ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ทำไรไม่ได้ ควักบัตรเครดิต รูดปึ๊ดๆ ราคาห้อง 5,130 รูปี

ระหว่างทางเดินหา สามล้อหน้าตาใจดี เจอพ่อหนุ่มคนนี้ขายมะเขือเทศแดงตัดกับสีผิวเสียเหลือเกิน
ระหว่างทางเดินหา สามล้อหน้าตาใจดี เจอพ่อหนุ่มคนนี้ขายมะเขือเทศแดงตัดกับสีผิวเสียเหลือเกิน

ถึงแม้ว่า เราจะไม่รู้ว่า เมือง Tiruttani เป้าหมายของเย็นวันนี้ว่าเป็นอย่างไร คงต้องพักไว้ก่อน เพราะตอนนี้ขอแบกกระเป๋าเที่ยว เมืองกัญจีปุรัมก่อนแล้วกันเนอะ หาข้อมูลมามี 3 ที่ที่ต้องไปแน่ๆ ดูระยะทางไม่สามารถเดินได้ทั่วภายในครึ่งวัน เลยเรียกรถสามล้อ ตกลงราคากันที่ 500 รูปี

ประตูสู่ภูเขาไกรลาส ตามตำนานบอกว่า เป็นทางผ่านไปสักการะพระศิวะ
ประตูสู่ภูเขาไกรลาส ตามตำนานบอกว่า เป็นทางผ่านไปสักการะพระศิวะ

ไม่แพงมาก จัดไป กลัวๆ เหมือนกันว่า เอากระเป๋าเดินทาง ฝากไว้บนรถ จะหายไหมนะ?  …  แต่จะให้แบกกระเป๋าไปเที่ยวด้วย ก็ไม่คล่องตัวเท่าไหร่ วิธีการคลาสสิคที่เราทำคือ เอาไว้ในรถแหละ แล้วเรียกพี่คนขับพร้อมแจกส้มที่ซื้อจากตลาดเมื่อวานให้คนขับ ประหนึ่งมันคือของล้ำค่า ที่คิดว่าจะซื้อใจพี่เค้าได้ ในความเป็นจริง ทำเพื่อความสบายใจของเรามากกว่า

ตัววัดมีกำแพงล้อมรอบด้านหน้า ด้านในเป็นสถานที่ขนาดเล็กไว้ทำพิธีกรรม
ตัววัดมีกำแพงล้อมรอบด้านหน้า ด้านในเป็นสถานที่ขนาดเล็กไว้ทำพิธีกรรม
ช่องด้านใน ไว้สำหรับให้คนมานั่งสมาธิ และขอพรหรือสักการะพระศิวะ
ช่องด้านใน ไว้สำหรับให้คนมานั่งสมาธิ และขอพรหรือสักการะพระศิวะ

รถตุ๊กๆ จอดข้างๆ ตัววัด ได้เลย เดินเข้าไปด้านในได้เลย ไม่ต้องเสียค่าเข้า “วัดไกรลาสนาถ” ตัววัดทำจากหินทราย สร้างขึ้นเพื่อถวายสักการะพระศิวะ ขนาดไม่กว้างมาก แต่หากดูรายละเอียดจะเห็นว่า หินที่แกะสลักก้อนใหญ่มาก ทำให้เห็นถึงความตั้งใจของคนในสมัยก่อน รวมถึงความเชื่ออย่างเข้มข้นในเทพเจ้า

นึกภาพไม่ออกเลยว่า คนสมัยก่อนยกก้อนหินใหญ่ขึ้นไปประกอบเป็นตัววัดได้อย่างไร น่าทึ่งมาก
นึกภาพไม่ออกเลยว่า คนสมัยก่อนยกก้อนหินใหญ่ขึ้นไปประกอบเป็นตัววัดได้อย่างไร น่าทึ่งมาก
สัตว์พาหนะ มีแบ่งเพศ ด้วย ส่่วนใหญ่รูปปั้นจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสไตล์ที่ท่องเที่ยวบาหลี
สัตว์พาหนะ มีแบ่งเพศ ด้วย ส่่วนใหญ่รูปปั้นจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสไตล์ที่ท่องเที่ยวบาหลี
ตัววัดมีทั้ง การปั้นนูนต่ำและนูนสูงเป็นรูป กษัตริย์ เจ้าแม่กาลี สัตว์ในตำนาน
ตัววัดมีทั้ง การปั้นนูนต่ำและนูนสูงเป็นรูป กษัตริย์ เจ้าแม่กาลี สัตว์ในตำนาน

เราได้รับการดูแลอย่างดีจากไกด์ท้องถิ่น ที่พยายามเล่าถึงความเป็นมาของรูปปั้นตามซอกต่างๆ ว่าหมายความถึงอะไร ซึ่ง จะมีทั้งพระวิษณุ พระศิวะ และพระพรหม โดยบางส่วนยังมีภาพเขียนสีสมัยโบราณ ที่ยังคงสีสดใส พอให้เราได้เห็นรายละเอียดความสวยงามในอดีต อีกทั้งยังเป็นวัดที่ได้รับการยอมรับ และเป็นมรดกโลกในปัจจุบัน

เทวาลัยแห่งนี้ ในความรู้สึกของผู้เขียน สวยงามมากในเรื่องของปูนปั้น และเห็นความใส่ใจในการบูรณปฏิสังขร
เทวาลัยแห่งนี้ ในความรู้สึกของผู้เขียน สวยงามมากในเรื่องของปูนปั้น และเห็นความใส่ใจในการบูรณปฏิสังขร

เราใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็สามารถเดินเที่ยวจนทั่วบริเวณ ให้สินน้ำใจไกด์ไป 100 รูปี  หากคนที่เคยมาอินเดีย น่าจะเคยเจอพฤติกรรมการขอเงินเพิ่มเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าไกด์ หรือ ค่ารถแท็กซี่ เราสามารถเลือกที่จะปฏิเสธอย่างสุภาพและนุ่มนวลได้ ทริปเรายากจน 100 รูปี พอและ

ทางเข้าด้านหน้าวัด Sri Ekambareswarat มีร้านขายของที่ระลึกและดอกไม้
ทางเข้าด้านหน้าวัด Sri Ekambareswarar มีร้านขายของที่ระลึกและดอกไม้

ขึ้นรถไปต่อกันที่ วัด Sri Ekambareswarar เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองกัญจีปุรัม ทางเข้าวัด หรือ โกปุลัม มีขนาดสูงถึง 59 เมตร กับตัวเทวาลัยค่อนข้างไกลกัน เราถอดรองเท้าไว้ที่รถ แล้วเดินเท้าเปล่าเข้าไปด้านใน

ความน่าทึ่งของการก่อสร้างที่ คนในสมัยปัจจุบัน ยังไม่สามารถ บูรณะให้เทียบเคียงของเก่าได้สมบูรณ์
ความน่าทึ่งของการก่อสร้างที่ คนในสมัยปัจจุบัน ยังไม่สามารถ บูรณะให้เทียบเคียงของเก่าได้สมบูรณ์
โถงระเบียงมีขนาดใหญ่ กว้างขวาง แกะสลักและประกอบกันได้อย่างลงตัว
โถงระเบียงมีขนาดใหญ่ กว้างขวาง แกะสลักและประกอบกันได้อย่างลงตัว

ด้านในมีระเบียง 4 ด้าน ที่มีทางเดินไปสู่ห้องโถง โดยรอบระเบียงประกอบไปด้วยเสาหินขนาดใหญ่แกะสลัก และด้านซ้ายมีการแกะสลักหินเป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าต่างๆ

Booking.com
เสียดายที่ฟังภาษาฮินดูไม่ออก รายละเอียดของภาพแกะสลักคงเป็นประวัติ และตำนานต่างๆ ของเทวาลัยแห่งนี้
เสียดายที่ฟังภาษาฮินดูไม่ออก รายละเอียดของภาพแกะสลักคงเป็นประวัติ และตำนานต่างๆ ของเทวาลัยแห่งนี้
ใช้กล้องยกถ่ายมุมไหน คิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีการออกแบบได้ดีเยี่ยม ต้องขอบคุณกษัตริย์ Vijanayagar ที่ทรงดำหริสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 15
ใช้กล้องยกถ่ายมุมไหน คิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีการออกแบบได้ดีเยี่ยม ต้องขอบคุณกษัตริย์ Vijanayagar ที่ทรงดำหริสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในปลายศตวรรษที่ 15

เดินเข้าไปด้านในเป็นโถงใหญ่มาก เราสามารถนำกล้องเข้าไปได้ โดยเสียค่าธรรมเนียม

ก่อนทางเข้ามีศิวลึงค์ และป้ายแจ้งว่าไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเข้าใดๆ นะ รัฐบาลไม่ได้เรียกเก็บจ้า น่ารักจริงๆ
ก่อนทางเข้ามีศิวลึงค์ และป้ายแจ้งว่าไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเข้าใดๆ นะ รัฐบาลไม่ได้เรียกเก็บจ้า น่ารักจริงๆ

เดินเข้าไปด้านใน ผู้ไม่ได้นับถือศาสนาฮินดู เดินรอบนอกของศิวาลัย ซึ่งเป็นโถงขนาดใหญ่ ตามมุมต่างๆ มีรูปปั้นเทพเจ้าและพรามหณ์ทำพิธีกรรม สวดมนต์ขอพรให้ผู้ที่ศรัทธา

โถงด้านในกว้างมาก มีรูปปั้นสัตว์ในตำนาน ตลอดทาง และที่พื้นมีโกลัม ลวดลายงดงามแปลกตา
โถงด้านในกว้างมาก มีรูปปั้นสัตว์ในตำนาน ตลอดทาง และที่พื้นมีโกลัม ลวดลายงดงามแปลกตา

ตลอดทางเดิน พื้นวาดโกลัม ได้สวยงามมาก อดไม่ได้ที่จะเก็บภาพไว้หลายมุม เพราะสีสันสวยงามตัดกับกำแพงหินสีเทาเข้มได้ดี

DSC04178

ผู้มีศรัทธา นอกเหนือจากคนอินเดีย มีชาวต่างชาติที่มาด้วยความศรัทธา เป็นหมู่คณะ เป็นภาพที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจ รู้สึกว่า ความสวยงามของความศรัทธา ไม่มีพรมแดนจริงๆ

การนั่งสมาธิเป็นหมู่คณะ พบได้ในโถงศิวาลัยด้านใน
การนั่งสมาธิเป็นหมู่คณะ พบได้ในโถงศิวาลัยด้านใน
ชอบภาพนี้มาก ขนาดคนอินเดีย ยังประทับใจ มายืนมองกลุ่มชาวต่างชาติกลุ่มนี้ และหยิบกล้องขึ้นเก็บภาพความประทับใจเอาไว้
ชอบภาพนี้มาก ขนาดคนอินเดีย ยังประทับใจ มายืนมองกลุ่มชาวต่างชาติกลุ่มนี้ และหยิบกล้องขึ้นเก็บภาพความประทับใจเอาไว้

เราเดินครบ 1 รอบ ทั้งสี่ด้าน ออกมาด้านนอก ก็ขอถ่ายรูปกับพี่ๆ ชาวอินเดียและเด็กๆ อีกพักนึง  แล้วก็ถึงเวลาผจญภัยต่อ ที่ดินแดนที่รู้จักน้อยที่สุดในทริปนี้ Tiruttani

ใครนะ ช่างเลือกสีเขียวของประตู ได้ตัดกับทัศนียภาพรอบข้างอย่างลงตัว สีไม่ฉูดฉาด แต่โดดเด่นและพอเหมาะพอเจาะ
ใครนะ ช่างเลือกสีเขียวของประตู ได้ตัดกับทัศนียภาพรอบข้างอย่างลงตัว สีไม่ฉูดฉาด แต่โดดเด่นและพอเหมาะพอเจาะ

พี่ตุ๊กๆ มาปล่อยเราที่ท่ารถเมือง กัญจีปุรัม ที่เดิม เราเริ่มคุ้นเคย ตรงดิ่งไปที่คนนั่งรอ

ท่ารถกัญจีปุรัม ที่นั่งรอรถจะอยู่ในร่ม เราเดินรี่ไป เพื่อหาใครสักคนที่พอจะถามทางได้
ท่ารถกัญจีปุรัม ที่นั่งรอรถจะอยู่ในร่ม เราเดินรี่ไป เพื่อหาใครสักคนที่พอจะถามทางได้

ณ ตอนนี้ พร้อมมาก มาลุยกัน Tiruttani … ถามทาง พี่คนที่หนึ่ง ทำหน้าคิด Tiruttani เหรอ? คันนั้นหน่ะ! สีเขียวๆ กำลังจะออก ขึ้นคันนี้แหละ เราก็แบบ หน้าตาแกไม่มั่นใจ เอ้า ถามคนที่สอง พี่แกดูเก๋า เอ๊ะ … ยืนใกล้ๆ มีกลิ่นเหล้าเล็กน้อย … ตรู จะรอดไหมเนี่ย พี่แกยืนยันชี้ไปคันเดิม คนข้างๆ พยักหน้าหงึกๆ  ถามครบ 3 คน ตามสูตรที่คิดขึ้นเองแล้ว ก็จัดไปสิคะ

แจกของทานเล่นระหว่างทางจ้า แอปเปิ้ล ลูกอม ครบเครื่อง รอบนี้ น้ำดื่ม ของกิน พร้อมมาก เรียกว่า ประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้
แจกของทานเล่นระหว่างทางจ้า แอปเปิ้ล ลูกอม ครบเครื่อง รอบนี้ น้ำดื่ม ของกิน พร้อมมาก เรียกว่า ประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้

ค่ารถจำแน่นอนไม่ได้แล้ว เพราะทริปนี้หลายต่อเหลือใจ คร่าวๆ 3 คน 42 รูปี เป็นเศษอีก แล้วทั้งเนื้อตัว มีฐานะร่ำรวยกันทั้งนั้น ไม่มีเศษค่ะ พี่กระเป๋า แกส่ายหัวแล้วเดินจากไป รู้สึกผิดเล็กน้อย อยากจะเอาแอปเปิ้ลแทนเศษสตางค์เสียจริง แต่นึกๆ ไปแล้ว อ้อ พี่แก ส่ายหัว แปลว่า โอเคร๊ …. ถ้าพยักหน้า แปลว่า ไม่โอเค … แหม คนอินเดียใจดีจริง ไม่รู้ว่าพี่แก ระอา หรือว่า ปล่อยๆ กะเหรี่ยง 3 คนนี้ไปเหอะ หน้าตาดูไม่รู้เรื่อง 555

ชาวอินเดียที่เดินทางส่วนใหญ่จะเห็นเป็น คุณป้าสูงไว และสัมภาระเยอะเหลือเกิน ตัวก็ค่อนข้างใหญ่ อุ้ยอ้าย เหมือนต้องลุ้นว่าแกจะขึ้นรถไหวไหม เพราะทางขึ้นจะต้องก้าวสูงมาก เนื่องจากค่อนข้างชัน
ชาวอินเดียที่เดินทางส่วนใหญ่จะเห็นเป็น คุณป้าสูงไว และสัมภาระเยอะเหลือเกิน ตัวก็ค่อนข้างใหญ่ อุ้ยอ้าย เหมือนต้องลุ้นว่าแกจะขึ้นรถไหวไหม เพราะทางขึ้นจะต้องก้าวสูงมาก เนื่องจากค่อนข้างชัน
เด็กน้อย หันมามองเราเหมือนตัวประหลาด ประมาณว่า พวกน้า มาทำอะไรกันเนี่ย
เด็กน้อย หันมามองเราเหมือนตัวประหลาด ประมาณว่า พวกน้า มาทำอะไรกันเนี่ย

ในตอนที่แล้ว ชื่นชมคนขับรถในใจ แต่รอบนี้ …. ไม่อยากจะ Said แบบว่า ขับรถซิ่งมาก 203 นี่อนุบาลไปเลย เรียกว่าไม่ใช่แค่พี่ไทยเสียว ดูเหมือนคนอินเดียก็จะ เจริญพร พี่คนขับ ขนาดเอากระเป๋า วางบนตัก เจอเนิน ตัวยังกระเด้งกระดอนได้  พอเสียงเริ่มดังหนาหู พี่คนขับดูจะลดความรุนแรงลงบ้าง พอให้เราได้สนใจสิ่งรอบข้างบ้าง

ทั้งท่ารถ และระหว่างทาง จะมีของกินขึ้นมาขาย แต่เราไม่กล้าอุดหนุน คือตัดสินใจช้า และด้วยมีแอปเปิ้ลตุนไว้เพียบ เลยเลือกที่จะผ่านไปก่อน
ทั้งท่ารถ และระหว่างทาง จะมีของกินขึ้นมาขาย แต่เราไม่กล้าอุดหนุน คือตัดสินใจช้า และด้วยมีแอปเปิ้ลตุนไว้เพียบ เลยเลือกที่จะผ่านไปก่อน

รถไม่ได้วิ่งตรงตามเส้นทางถนนหลัก และเลือกที่จะวิ่งลัดเลาะไปตามหมู่บ้าน เพื่อรับคน มองไปอีกที คนเยอะขนาดห้อยโหนซะเต็มรถเลย

รถโดยสารสีเขียว มีออกเรื่อยๆ ระหว่างเมืองกัญจีปุรัม และ ทีรุตทานี่
รถโดยสารสีเขียว มีออกเรื่อยๆ ระหว่างเมืองกัญจีปุรัม และ ทีรุตทานี่

เราใช้เวลาร่วม สองชั่วโมง ถึงแม้รถจะค่อนข้างซิ่ง ตัวกระดอนไปตลอดทาง พอผ่านชั่วโมงแรกไป ก็เริ่มจะชิน ลมเย็นๆ พัดผ่านหน้า แอบงีบเป็นระยะๆ ในที่สุดเราก็ถึงที่หมาย 555 รอดแล้ววุ้ย Tiruttani … มาถึงแล้วจ้า คนไทยมั่วเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก

ช่างตัดเสื้อ กับหญิงไทยร่างอวบ กำลังเจรจาซื้อขายอย่างเมามัน ร่วม ชั่วโมง โดยภาษาฮินดู ไทย และอังกฤษ มันส์พะยะค่ะ
ช่างตัดเสื้อ กับหญิงไทยร่างอวบ กำลังเจรจาซื้อขายอย่างเมามัน ร่วม ชั่วโมง โดยภาษาฮินดู ไทย และอังกฤษ มันส์พะยะค่ะ

คงต้องมาต่อ ตอนที่ 3.2 เมืองนี้เป็นที่สุด ของที่สุด อาหารอินเดีย ที่ผ่านมาธรรมดาไป มื้อนี้ พื้นถิ่นสุด สุด และทิ้งตอนต่อไปด้วยรูปนี้ ชุดอินเดียเจ้าปัญหา ที่เจรจาต่อรองกันร่วมชั่วโมง กว่าจะได้มา เป็นการเจรจาข้ามชาติ ระหว่าง ไทย และ อินเดีย กันเลยทีเดียว 555 โปรดติดตาม ตอนที่ 3.2 การเจรจาข้ามชาติ

 

Leave a Reply

>
Facebook