เที่ยวอินเดีย เชนไน ตอนที่ 3.2

เกริ่นไว้ครั้งที่แล้ว ว่าตอนที่ 3.2 เมืองนี้เป็นที่สุด ของที่สุด อาหารอินเดีย ที่ผ่านมาธรรมดาไป มื้อนี้ พื้นถิ่นสุด สุด และการได้มาซึงชุดแขก ด้วยความพยายามในการเจรจาข้ามภาษาระหว่าง ไทย และ อินเดีย ร่วมหนึ่งชั่วโมง

สายตาบอกเป็นภาษได้เลย "พวกนายมาทำอัลไล?"
สายตาบอกเป็นภาษได้เลย “พวกนายมาทำอัลไล?”

แต่ก่อนอื่น ขอสูดอากาศฟอดใหญ่ ยิ้มให้กับเมือง Tiruttani ถ้าเราจะอ่านออกเสียงให้คนอินเดียพอฟังออก แนะนำให้ซ้อมกระดกลิ้นรัวก่อน ตริ-รุต-ตรา-นี่ เราน่าจะเป็นคนไทยจำนวนน้อยมากที่มาเยือนเมืองนี้ ดูจากสายตาพี่ๆ เค้าแล้ว

เช่นเคย มาถึงปุ๊ป หิวปั๊บ เหมือนสั่งกระเพาะได้ เปิดแผนที่แล้ว ยังไงที่พักก็ต้องนั่งรถออกไปนอกตัวเมือง ดังนั้น อยากจะได้อะไรคงต้องจัดใส่ท้องไปให้เรียบร้อย

อาชีพปรับแต่งแหวนที่นิ้วเท้า
อาชีพปรับแต่งแหวนที่นิ้วเท้า

ระหว่างทาง ตามหาร้านอาหารเจออาชีพที่เดาว่าน่าจะมีเฉพาะอินเดีย คือการปรับแต่งแหวนที่นิ้วเท้า ในภาพช่างกำลังตอกๆ เพื่อถอดห่วงออกจากนิ้วอยู่ คงต้องใช้ความชำนาญมาก เพราะเห็นอุปกรณ์แล้วเสียวนิ้วเท้าแทน

IMG_2106

สมาชิกเดอะแกงค์ สภาพยังพอดูได้อยู่นะ ร่าเริงอยู่ อาจเพราะมองเห็นร้านข้าวอยู่ข้างหน้า ได้นั่งพักและเติมพลังกันแล้ว

IMG_2108

เรามาจอดที่ร้านนี้ เพราะดูแล้วทำแป้งสดใหม่ ลุงทอดกันให้เห็นจะๆ  ระหว่างรอคุณลุงทอดแป้ง มีรถไฟวิ่งผ่าน เลยออกมาหน้าร้านเพื่อเก็บภาพรถไฟอินเดีย ว่าจะแน่นสมคำร่ำลือ หรือเปล่า

สภาพบ้านเรือนรอบข้างทางรถไฟ
สภาพบ้านเรือนรอบข้างทางรถไฟ
รถไฟอินเดีย
รถไฟอินเดีย

เออ มันก็ไม่ยักกะแน่น อย่างที่จินตนาการไว้ และยิ่งพอคนในรถไฟเห็นเรายกกล้องถ่ายรูป ยิ่งโบกไม้โบกมือทักทายเราด้วย หลังๆ เลยไม่ถ่ายและ ยกมือทักคนอินเดีย สนุกกว่า

อาหารอินเดีย level 2
อาหารอินเดีย level 2

มื้อกลางวัน รอบนี้ เป็นอาหารอินเดีย level up คือตัวแป้งเหมือนแป้งโรตีบ้านเราแต่เนื้อแป้งเหนียวนุ่มกว่า ปัญหาอยู่ที่แกงนี่แหละ คือน้ำโจ้กๆมาเลย ไม่มีข้าวเกรียบและข้าวสวยเป็นตัวช่วยอย่างเมืองที่แล้ว สมาชิกสาวมากสุดในทริปของเรา มื้อแรกพกช้อนมาจากเครื่องบิน แต่ดันทิ้งไปแล้ว

เปิปมือเหรอ ซำบาย
เปิปมือเหรอ ซำบาย

คิดหรือว่าจะเป็นอุปสรรค เอาแป้งโกยน้ำแกง เปิปมือ ดูดนิ้ว ว้าว…อร่อยแท้ ชอบจริงๆ เลยจานใบตองเนี่ย คลาสสิคเป็นที่สุด น้ำดื่มฟรี แต่เรายังคงคอนเซปดื่มน้ำที่พกมาด้วย เพื่อความสบายใจ ส่วนเรื่องมือเลอะ  ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะมีบริการอ่างล้างมืออยู่หลังร้าน

IMG_2132

ค่าอาหาร 3 คน ประมาณ 80 รูปี ถูกมากถึงมากที่สุด ท้องอิ่มแล้วพร้อมเดินตลาดเที่ยวต่อ ก่อนจะเข้าโรงแรมที่ห่างไกลความเจริญ

ร้านขายเสื้อผ้า ชุดมีหลายไซด์ ใส่แล้วเก็บพุงได้ดี ชอบมาก โดยเฉพาะ legging สนนราคาตัวละ 150-300 บาท แล้วแต่ลวดลายปักบนเสื้อ
ร้านขายเสื้อผ้า ชุดมีหลายไซด์ ใส่แล้วเก็บพุงได้ดี ชอบมาก โดยเฉพาะ legging สนนราคาตัวละ 150-300 บาท แล้วแต่ลวดลายปักบนเสื้อ

เดินเลาะริมถนนตรงเรื่อยไปในชุมชน สะดุดตากับร้านขายเสื้อแขก แทบจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของแกงค์เราที่เมื่อไปประเทศไหนในแถบเอเชีย หากชุดประจำชาติไม่แพง จะหามาลองใส่เที่ยวกัน และเป็นที่มาของชุดเจ้าปัญหาของทริปนี้

เวลาเราเลือกเสื้อ จะเอามาทาบไหล่ว่าใส่ได้พอดีหรือเปล่า ทีนี้ ลายและสีที่ชอบลงตัวราคาโอเค ไม่แรง แต่ติดตรงที่เป็นเสื้อแขนกุด อันเป็นเสื้อต้องห้ามของสาวอวบระยะสุดท้าย เพราะหากโชว์ท่อนแขน จะยิ่งทำให้ดูอ้วนไปใหญ่ แต่พี่อินเดียส่ายหัวนิดๆ พร้อมบอกว่า ไม่มีปัญหา อิฉันมีแขนเสื้อให้ด้วยจ้ะนายจ๋า

IMG_2161

ใช่แล้ว ซื้อเสื้อ แถมต่อแขนเสื้อฟรี!!! ผ้าสำหรับต่อแขนเสื้อแพ็คมาในถุงเรียบร้อย ถ้าเปรียบคงเหมือนบ้านเราที่ตัดขากางเกงฟรี รอรับได้เลย  แหม…ความต้องการลงตัวอย่างนี้ จัดไปค่ะ

IMG_2148

เราเดินถัดไปอีกแค่ สองตึก ทางเข้ามืดพอสมควร พนักงานเดินนำขึ้นบันไดไปชั้น 2 ด้านบนมีหลายห้อง แบ่งซอยเป็นห้องๆ เป็นที่พักบ้าง ห้องอื่นเป็นไงก็ไม่รู้ ดูมืดๆ ตอนแรกหวั่นใจนะ เพราะเป็นตึกที่แลดูทมึนทึม ไม่เปิดไฟ แต่ด้วยเรามากัน 3 คน พวกเยอะอุ่นใจกว่าหน่อยนึง ห้องแรกที่รับต่อแขนเสื้อไม่เปิด ร้านค้าดูเหมือนอยากจะคืนสตางค์มากกว่า 10 รูปี เป็นค่าเย็บต่อตัวประมาณว่า ถ้าไม่ต่อแขน เอาเงินไปต่อเองแล้วกัน เราก็ไม่เอา จะใส่เลย เลยพาเดินถัดมาอีกห้อง พบคุณพี่สามคนนั่งเย็บผ้าอยู่

IMG_2140

พนักงานที่ร้านส่งเราเสร็จ ก็ทิ้งเราให้อยู่กับช่างเย็บผ้า เราส่งเสื้อให้เจ๊เค้าดู พร้อมเศษผ้า พี่แกทำหน้าพร้อมพูดกลับมาเป็นซาวแทร็กภาษาฮินดู “เดาได้ว่า เอิ่ม…ผ้าที่ให้มาไม่พอนะ ถ้าต่อไปให้จะเอาแขนเข้าไปไม่ได้นะคะคู๊นน”  ประมาณว่ามองประเมินด้วยตา แล้วพูดเลย

หญิงไทย : คือ แหมเจ๊ ลองก่อนสิจ้ะ เจ๊แกก็ไม่ยอม

เจ๊ช่างเย็บผ้า  : มานี่สิ พร้อมเอามาม้วนเป็นรูปแขนเสื้อให้ดู นี่ไง ถ้าเย็บต่อให้สุดตะเข็บ (อันนี้เดาเอา เพราะเจ๊แกยังคงพูดซาวแทร็ก สังเกตุจากท่า) มีการกลับตะเข็บให้ดู ทำยังไงก็ไม่ได้ เราทุ่มเถียงกันอย่างจริงจัง สลับกับเสียงหัวเราะเพราะต่างคนต่างฟังอีกฝ่ายไม่เข้าใจ 555

IMG_2139

อ๊ะ…แน่นอน คนไทยเรื่องต่อรองไม่แพ้ชาติใดในโลก เช่นกัน เจ๊คะ นี่ไง หยิบเศษผ้าที่พื้นห้อง เจ๊ก็เอามาผ้าชิ้นอื่นมาต่อๆ กันได้ป่ะหล่ะ  เจ๊แกทำหน้าเอือม ประหนึ่ง ยัยกะเหรี่ยงอ้วนนี่พูดไม่รู้เรื่องวุ้ย พร้อมตะโกนเรียกลูกชายออกมา

บรรยากาศเริ่มมาคุ นี่มันเป็นการเจรจาธุรกิจข้ามชาติ ไม่มีใครถอย

พอเห็นน้องผู้ชายออกมา เท่านั้นแหละ  พูดเลย ไอ้เด็กน้อย หึๆ กระดูกคนละเบอร์ คิดเหรอว่าจะสู้กะเหรี่ยงไทยอย่างฉันได้ น้องเค้าบอกว่า คุณพี่ครัชคือผ้าไม่พอต่อไม่ได้ อ๊ะ…อันนี้ฉันรู้แล้ว เอ่อ…แล้วต้องเลาะด้านข้างด้วยนะ เพราะมันฟิดต้นแขนเกินไปอ่ะ เข้าใจไหมพี่ ทำไม่ได้

อ๋อ … ที่น้องพูดมาทั้งหมดเข้าใจหมดแหละ ก็หาเศษผ้าต่อๆ ให้พี่เหาะ ผ้าที่มีอยู่ ที่พอจะเข้ากับเสื้อสีเนี่ยอ่ะ สรุปคือ พี่อยากได้อ่ะน้อง ไม่ทำก็ไม่กลับนะ ฉันจะสิงอยู่ตรงนี้แหละ 555 … น้องเริ่มทำหน้าแบบขอความช่วยเหลือ หันกลับไปพูดกับแม่ ฟังออกคำเดียว … มาม่า พี่เค้าไม่ยอมอ่ะ ไม่รู้ทำไงและ ไปเล่นเกมส์ดีกว่า แล้วน้องก็เดินเข้าห้องไป

ทิ้งให้เรากับเจ๊ช่างเย็บผ้ามองหน้ากัน  จากนั้นเจ๊เค้าคงเห็นความพยายามของเรา เลยจับมือ พร้อมบอกว่า มีสตางค์หรือเปล่า Money?? พูดซ้ำ ๆ เราก็ เอาวะ ต้องซื้อใหม่เลยหรอ ก็ได้ฟะ ทำมาขนาดนี้และ อย่างมากก็คืนของ

เรื่องราวต่อจากนี้เป็นพี่รจเจ้าของเสื้อเล่าให้ฟัง ส่วนเรานั่งรออยู่ที่ร้าน สรุปคือเจ๊ช่างเย็บผ้า ไปต่อรองกับเจ้าของร้าน จนเจ้าของร้าน หาเศษผ้าขนาดใหญ่สีบานเย็นมาให้  ทุกสิ่งอย่าง ฟรีๆๆๆๆ

ป๊าบ …. ตบเข่าฉาดดีใจ เฮ้ย…หมูทำได้อ่ะ ดีใจยิ่งกว่าถูกเลขท้ายสองตัว 555 ในความเป็นจริงแล้ว เจ๊ช่างเย็บผ้าทั้งสามใจดีมากมาย คือแค่คืนเงินเราและปฏิเสธไม่ทำให้ก็ได้ แต่แกก็ช่วยเต็มที่ ได้ผ้ามา แกไม่ต้องวัดแบบเลย เอากรรไกร ตัดโชะๆ เย็บสิบนาที งามแงะ ลองใส่ ได้พอดี

เสื้อเจ้าปัญหา ที่คนไทยภาคภูมิใจที่สุดของที่สุดในทริปนี้ ได้แขนเสื้อเป็นของตัวเอง
เสื้อเจ้าปัญหา ที่คนไทยภาคภูมิใจที่สุดของที่สุดในทริปนี้ ได้แขนเสื้อเป็นของตัวเอง

แหม … ฝีมือเจ๊ สุดยอด ถ้าเปิดร้านเมืองไทย จะไปเป็นขาประจำเลยนะเนี่ย มือโปรแถมใจดีอีกต่างหาก ก่อนลาจาก เราถ่ายรูปกับทั้งครอบครัว แลก E-mail เพื่อส่งรูปที่ถ่ายไปให้  คิดว่าพรุ่งนี้ จะถ่ายรูปเสื้อที่ใส่แบบมีแขนแล้วส่งไปให้เจ๊แกเป็นที่รำลึกด้วย

ร่ำลากันด้วยรอยยิ้ม เดินผ่านร้านขายเสื้ออีกรอบ พนักงานหัวเราะและยิ้ม พร้อมโบกมือให้เราทั้งร้าน คงคิดว่า พวกเราแน่มากสินะ เอ๊ะ… หรือคิดในใจว่า พวกแกมาป่วนร้านฉานนน 555

รถเมล์สาธารณะในเมือง Tiruttani ค่อนข้างแน่น และคงติดเชื้อมาจากพี่ไทย พอเห็นผู้โดยสาร ขับรถหนีซะงั้น
รถเมล์สาธารณะในเมือง Tiruttani ค่อนข้างแน่น และคงติดเชื้อมาจากพี่ไทย พอเห็นผู้โดยสาร ขับรถหนีซะงั้น

บ่ายสามกว่าแล้ว ผู้คนขวักไขว่ รถเมล์โดยสารแน่นขนัด มีคนวิ่งตามรถหลายคน พี่ผู้ชายใจดีวิ่งเร็วกว่า มาช่วยตะโกนและตบรถให้จอด แถมยังรอให้ผู้หญิงขึ้นไปก่อน แล้วตัวเองโหนอยู่ที่หน้าประตู แหม…ใจพี่หล่อมาก

ระหว่างทาง เป็นเวลาเลิกเรียนแล้ว เห็นนักเรียนทยอยเดินกลับบ้าน
ระหว่างทาง เป็นเวลาเลิกเรียนแล้ว เห็นนักเรียนทยอยเดินกลับบ้าน

มองหาสามล้อเพื่อเรียกไปโรงแรม โรงแรมอยู่ถัดจากตลาดไป เกือบ 4 กิโล ไม่เดินและนะ อยากจะไปล้างหน้าล้างตัวเต็มแก่แล้ว ความงง ยังไม่จบเท่านั้น แน่นอน เรารู้ตั้งแต่เมืองกัญจีปุรัมแล้วล่ะ ว่าเราจองผิดโรงแรม ทำให้วันนี้ที่เรามายื่นเอกสารจองห้องพัก คือ เค้าอาจจะปฏิเสธเราได้ เพราะเรา no show

ข้อดีของรถสามล้อคือ ไม่มีกระจกมาบังกล้อง ทำให้ระหว่างทางเก็บภาพนี้ได้ รถขนอ้อยกำลังแล่นอยู่บนท้องถนน นำทีมโดยเด็กโข่ง วิ่งท้ายรถไปหยิบท่อนอ้อย จากนั้นเด็กอีกหลายคนเลียนแบบวิ่งไปหยิบบ้าง
ข้อดีของรถสามล้อคือ ไม่มีกระจกมาบังกล้อง ทำให้ระหว่างทางเก็บภาพนี้ได้ รถขนอ้อยกำลังแล่นอยู่บนท้องถนน นำทีมโดยเด็กโข่ง วิ่งท้ายรถไปหยิบท่อนอ้อย จากนั้นเด็กอีกหลายคนเลียนแบบวิ่งไปหยิบบ้าง

แต่ จิตใจที่ฮึกเหิม เจรจา พร้อมอ้อนวอนด้วยสายตา นอกจากจะได้เข้าพักแล้ว ค่าส่วนต่างที่จะเก็บเพิ่มสำหรับลูกค้าคนที่สามก็ไม่ต้องเสียอีก  reception ช่วยคุยกับ Manager โรงแรมให้ น่ารักมาก เราใช้เวลาจัดการเรื่องห้องเกือบครึ่งชั่วโมง

ห้องพักโรงแรม GRT Tiruttani มาตราฐานและการให้บริการให้คะแนนเต็ม
ห้องพักโรงแรม GRT Tiruttani มาตราฐานและการให้บริการให้คะแนนเต็ม

ในที่สุดก็ได้เข้าพัก น้ำตาจะไหล มี wifi ฟรีแล้ว ไม่รอช้าส่งรูปให้เจ๊ช่างเย็บผ้า อาบน้ำให้สดชื่น จนห้าโมงนิดๆ พี่ยม สมาชิกชายไทยหนึ่งเดียวก็มาเรียก บอกว่า ข้างๆโรงแรมมีตลาดไปเดินเล่นกัน ถึงแม้ว่าจะเริ่มเคลิบเคลิ้มกับแอร์เย็นฉ่ำ แต่ใจเรียกร้องอยากไปถ่ายรูปเล่นมากกว่า แล้วก็ไม่ผิดหวัง

IMG_2187

เป็นตลาดชุมชนที่คึกคัก ของขายส่วนใหญ่จะเป็นผัก อย่าเรียกว่าขายเป็นต้น เรียกว่าขายเป็นสวนจะเหมาะสมกว่า ผู้คนเข้ามาถามไถ่ว่าเป็นคนจากที่ไหน พร้อมขอให้เราถ่ายภาพให้ตลอดทาง

ภาพคุณแม่กระเตงลูกมาจ่ายตลาดด้วย
ภาพคุณแม่กระเตงลูกมาจ่ายตลาดด้วย

ด่ฟกดสฟ

พี่คนนี้ทำท่าเหมือนจะมาถามไถ่ พอเรายกกล้องจะถ่ายรูปเท่านั้นแหละ ร้องห้าม บอกว่าขอเซ็ตผมก่อน อ่ะนะ
พี่คนนี้ทำท่าเหมือนจะมาถามไถ่ พอเรายกกล้องจะถ่ายรูปเท่านั้นแหละ ร้องห้าม บอกว่าขอเซ็ตผมก่อน อ่ะนะ

ระยะทางจากโรงแรมถึงตลาดห่างประมาณ 300 เมตร ผู้คนที่เดินสวนเรา ยิ้มให้อย่างเป็นมิตร ยิ่งเดินเข้าไปในตลาดนี่ แหวกเป็นทาง พร้อมชี้ชวนให้ดูของแปลกของไทย เราก็ตื่นตาตื่นใจกับการเก็บภาพ เสียดายที่แสงในตลาดมีน้อย ถึงกระนั้นยังเก็บภาพมาได้มากโข

คนอินเดียไม่ใช้ถุงพลาสติก จะเป็นถุงกระสอบเย็บและมีหูหิ้ว ถือมาจากบ้าน ใส่ของที่ซื้อจากตลาด ชอบจังเลย ดูแข็งแรง ทนทานและไม่สร้างขยะเพิ่มด้วย
คนอินเดียไม่ใช้ถุงพลาสติก จะเป็นถุงกระสอบเย็บและมีหูหิ้ว ถือมาจากบ้าน ใส่ของที่ซื้อจากตลาด ชอบจังเลย ดูแข็งแรง ทนทานและไม่สร้างขยะเพิ่มด้วย
เมื่อเต็มมือ เค้าก็เอาเทินหัวกันจ้า วิธีนี้คงต้องมีทักษะ และกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอตัวล่ะ
เมื่อเต็มมือ เค้าก็เอาเทินหัวกันจ้า วิธีนี้คงต้องมีทักษะ และกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงพอตัวล่ะ

ระหว่างทาง ที่เราเดิน พี่ๆแม่ค้า พ่อค้าส่งยิ้มให้เรา เรียกเราให้ถ่ายรูปครอบครัวให้บ้าง ยื่นผักและผลไม้ให้เราฟรีบ้าง เป็นน้ำใจที่ประทับใจที่สุด คนเมืองนี้น่ารักจังเลย ถ้ามีเพื่อนอยากได้บรรยากาศแบบนี้แนะนำเมือง Tiruttani เลยนะคะ

พ่อค้าตัวน้อย เชียร์ให้เราซื้อผักด้วย เอิ่มให้พี่กัดกินสดๆ เหรอจ้ะน้อง อันนี้คิดในใจ
พ่อค้าตัวน้อย เชียร์ให้เราซื้อผักด้วย เอิ่มให้พี่กัดกินสดๆ เหรอจ้ะน้อง อันนี้คิดในใจ
มะเขือขายเยอะมาก ลูกใหญ่โตแดง แต่สงสัยว่า เมนูที่เราทานมาหลายวันไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ หรือมันเปื่อยอยู่ในน้ำแกงก็ไม่แน่ใจ
มะเขือขายเยอะมาก ลูกใหญ่โตแดง แต่สงสัยว่า เมนูที่เราทานมาหลายวันไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ หรือมันเปื่อยอยู่ในน้ำแกงก็ไม่แน่ใจ

ตลาดนี้ยาวลึกเข้าไปในซอยมาก ของที่ขายเริ่มจะซ้ำ เราเลยตัดสินใจเดินออกมาเพื่อจะได้ไปเก็บภาพพระอาทิตย์ตกที่ทุ่งหญ้าที่อยู่ตรงข้ามตลาด เล็งไว้ตอนเดินเข้ามา

คือ ไม่มีใครไม่สู้กล้องเลยเหอะ คนถ่ายก็สนุกสิจ้ะงานนี้
คือ ไม่มีใครไม่สู้กล้องเลยเหอะ คนถ่ายก็สนุกสิจ้ะงานนี้
จำไม่ได้ว่ารถขายอะไร แต่สิ่งที่เรียกความสนใจเราคือ เสียงแตรที่บีบตลกดี เราเลยไปขอบีบบ้าง แต่เสียงไม่ยักจะออก ความสามารถของฉันต่ำแท้
จำไม่ได้ว่ารถขายอะไร แต่สิ่งที่เรียกความสนใจเราคือ เสียงแตรที่บีบตลกดี เราเลยไปขอบีบบ้าง แต่เสียงไม่ยักจะออก ความสามารถของฉันต่ำแท้
หมวยว่าคนอินเดียข้อเข่าต้องดีนะ คือของส่วนใหญ่แบกับดินเวลาซื้อเค้าจะไม่ย่อตัว ใช้โก้งโค้งกันเกือบทุกคนเลย
หมวยว่าคนอินเดียข้อเข่าต้องดีนะ คือของส่วนใหญ่แบกับดินเวลาซื้อเค้าจะไม่ย่อตัว ใช้โก้งโค้งกันเกือบทุกคนเลย

ก่อนที่แสงจะหมด เราเดินตัดข้ามถนนมาอีกฟาก เพื่อตามแสงตะวันสุดท้ายของวันนี้

ชาวบ้านจับจ่ายของเสร็จ ยืนรอรถเข้าตัวเมืองหน้าตลาด สะดวกดี หากไม่อยากเสียสตางค์ค่าสามล้อ โบกรถนี้น่าจะพอไหวนะ เหอๆ โรคงกกำเริบ
ชาวบ้านจับจ่ายของเสร็จ ยืนรอรถเข้าตัวเมืองหน้าตลาด สะดวกดี หากไม่อยากเสียสตางค์ค่าสามล้อ โบกรถนี้น่าจะพอไหวนะ เหอๆ โรคงกกำเริบ
พระอาทิตย์กลมโต ตกท่ามกลางทุ่งนา ไม่มีความเจริญมาบดบังทัศนียภาพ
พระอาทิตย์กลมโต ตกท่ามกลางทุ่งนา ไม่มีความเจริญมาบดบังทัศนียภาพ
ภาพเงาอาคารระยะไกล โรงแรม GRT Tiruttani ที่เราใช้พักคืนนี้
ภาพเงาอาคารระยะไกล โรงแรม GRT Tiruttani ที่เราใช้พักคืนนี้

ส่งราตรีสวัสดิ์กันด้วย ภาพสุดท้ายก่อนเดินกลับไปทานข้าวในโรงแรม

แตงโมจ้า แตงโมไหมจ้า หวาน กรอบ สด
แตงโมจ้า แตงโมไหมจ้า หวาน กรอบ สด

รถขายแตงโม วิธีการเรียกร้องความสนใจชาวบ้านคือ มีคนนึง ยืนบนรถที่มีกองแตงโมสูง เพื่อให้เด่น จากนั้นก็โยนแตงโมขึ้นไป และคอยรับ ปากก็พูดขาย แตงโม ฉ่ำหวาน ราคาไม่แพง เป็นเทคนิคที่ทุ่มทุนสร้างทีเดียว

ตอนที่ 4 เป็นความน่ารักของ Reception ที่รู้ภายในหลังว่าชือ Varanda ที่พาเรา Fast Track เข้าวัด Hill Temple วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในเมืองนี้ บริการระดับ VIP ในราคา 350 บาท (หาร 3 เหลือคนละ 100 กว่า) ดูแลเราอย่าง first class เพียงแค่คุยกันถูกคอ ประทับใจมาก เจ๋ง ดี เลอค่า อย่างไร โปรดติดตาม อินเดีย 101 ตอนที่ 4 เร็วๆ นี้ ด้วยนะคะ

Leave a Reply

>
Facebook